เรื่องเกี่ยวกับไม้แบดมินตันและรองเท้าแบดมินตัน
By Big Oat
ไม้แบดมินตัน
รูปแบบภายนอกแบบเด่นชัด
แบ่งเป็นสองแบบ
1.ไม้แบดฯ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเฟรมด้วยตัวสามเหลี่ยมเชื่อม
ไม้อันนี้ส่วนมากจะเป็นอลูมิเนียม และจะมีน้ำหนักมาก ราคาถูก
2.ไม้แบดฯ ที่เป็นการเชื่อมต่อเป็นอันเดียวกัน ทำให้ตีง่าย น้ำหนักเบา
ส่วนประกอบของตัวไม้เบื้องต้น หลักจะแบ่งได้เป็นสามส่วน
1.)เฟรม (Frame) เป็นส่วนที่ใช้ขึงเอ็น ซึ่งเฟรมแต่ละยี่ห้อจะมีลักษณะต่างกันไป หรือบางคนอาจใช้ศัพท์เรียกว่าหัวไม้ ถ้าเฟรมใช้วัสดุแข็งแรงก็จะทนและสามารถขึงเอ็นได้ตึงและไม่บาดไม้ โดยเฟรมก็จะมีตาไก่ให้ร้อยเอ็นด้วยช่วยในการยึดจับและร้อยเอ็น โดยมีบางรุ่นที่เฟรมไม่มีตาไก่คือ Prince รุ่น O3 ซึ่งอาจจะทำให้ขึ้นเอ็นได้น้อยกว่าแต่อาจจะทำให้ไวกว่าในการตี
เฟรมจะมีแบบใหม่คือแบบหน้ากว้างบริเวณปลายเฟรมจะขยายมากขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมขึ้น Sweet spot จะทำให้เพิ่มพื้นที่ในการสัมผัสลูกมากขึ้น แต่มีแบบเก่าคือแบบหัวไข่ รูปรี มีข้อดีคือทำให้ลดแรงเสียดทาน แต่ปัจจุบันแบบเหลี่ยมก็ทำให้ตีลดแรงเสียดทานได้เช่นกัน คนจึงนิยมแบบเหลี่ยมหรือหน้ากว้าง
ถ้าน้ำหนักของไม้ถ่ายทอดที่หัวเฟรมก็จะทำให้จังหวะตบกดหัวไม้ได้ดีขึ้น แต่ข้อเสียบางครั้งบางรุ่นอาจจะทำให้หน้าไม้ไม่ไว อาจจะทำให้รับได้ไม่ทันใจ
ส่วนถ้าหน้าไม้หรือหัวไม้เบาจะทำให้เล่นดาดหรือพลิกไม้หรือรับลูกได้เร็วไว้ขึ้น แต่เมื่อตบต้องออกแรงและสะบัดข้อมือมากขึ้น
2.)ก้าน(Shaft) คือส่วนที่เชื่อมระหว่างเฟรมกับด้ามจับ ซึ่งมีความยาวและความแข็งต่างกันไป ปัจจุบันจะนิยมก้านยาวประมาณ 675 ซม.รวมเฟรมถึงด้าม ซึ่งจะถือว่าเป็นก้านยาวแล้ว โดยจะมีไม้บางรุ่นซึ่งเป็นก้านสั้นมากกว่านี้ถ้าก้านยาว สามารถทำให้ช่วงการรับการตวัด มีการขยายช่วงตีมากขึ้น แต่ถ้าก้านสั้นอาจจะมีข้อดีคือวงสวิงสั้นและเร็วขึ้น คนที่มีรูปร่างสูงนั้นบางคนจะชอบก้านสั้น เนื่องจากตนเองมีช่วงแขนที่ยาวอยู่แล้วต้องการความรวมเร็ว
บางยี่ห้อและบางรุ่นอาจจะมีระบบก้านยาวหรือก้านเรียว หรือก้านลดแรงสั่นสะเทือนด้วย
ส่วนความยืดหยุ่นของก้าน ถ้าก้านอ่อนจะทำให้แรงดีดนั้นเพิ่มขึ้น ส่วนก้านแข็งจะดีตรงที่มีแรงตบจังหวะในการตบได้มั่นคงรวดเร็ว
3.ด้ามจับ(Grip) ตัวด้ามจับจะมีที่พันด้าม ที่พันอาจเป็นผ้าหรือเป็นหนังหรือพลาสติก แล้วแต่ความนิยมของแต่ละคน โดยถ้าเป็นผ้าถ้าตีเริ่มแรกจะกระชับมือ แต่พอเปียกแล้วจะทำให้ยิ่งลื่น
ขนาดของด้ามจับใช้สัญลักษณ์ G จะใช้เป็น G1 G2 ถึง G5 คือถ้ายิ่งเลขมากด้ามจับยิ่งเล็ก ก็คือ G1 จะใหญ่สุด
วัสดุของไม้แบดมินตัน
วัสดุของไม้แบดมินตันจะมีหลายประเภท แต่ส่วนมากในราคากลางถึงราคาสูงนั้นจะเป็น พวกคาร์บอน โดยคำว่าคาร์บอน รวมถึงพวก คาร์บอนไฟเบอร์ คาร์บอนแกร์ไฟต์ คาร์บอนนาโน โดยจะยกตัวอย่างคุณสมบัติดังนี้
- นาโนคาร์บอน (Nano) จะเป็นคาร์บอนที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเกี่ยวกับโมเลกุล ทำให้วัสดุมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นในขนาดน้ำหนักเท่าเดิม ไม้ที่มีส่วนผสมนี้จะใช้สัญลักษณ์แบบนี้
- ไทเทเนียม (Ti) ไทเทเนียมจะเป็นคาร์บอนที่ความแข็งแรงและแรงดีดที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผสมหมดทั้งไม้ แต่ถ้าผสมเยอะจะทำให้ไม้แข็งเกินไปและอาจกรอบหักได้ แต่บางคนก็ยังบอกว่ายิ่งเยอะยิ่งดี ซึ่งบางครั้งก็จะมีการเพิ่มขึ้นเป็น Ultimum บ้าง Timesh บ้างซึ่งเค้าจะบอกว่าแข็งแกร่งกว่าเด้งว่าไทเทเนียมธรรมดา ถ้าเป็น Kason รุ่น TSF 100 จะมีส่วนผสมนี้อยู่ด้วย
- แกร์ไฟต์ ก็จะมีคุณสมบัติที่สูงกว่าคาร์บอนทั่วไปตรงความแข็งแรงและความสปริงของไม้ โดยบางครั้งก็จะมีเขียนว่า Hi modulus หรือ H.M. ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคาร์บอนแกร์ไฟต์คุณภาพสูง
- ไฟเบอร์ Fiber ก็จะเป็นคาร์บอนที่มีน้ำหนักเบาแรงดีดพอสมควร จะมีบางรุ่น
ที่ใช้ HTS Fiber
- อลูมิเนียม จะมีน้ำหนักที่หนักและแข็งกว่าวัสดุข้างต้น ซึ่งเหมือนจะแข็งกว่าแต่ถ้าทำเป็นเฟรมความยืดหยุ่นหรือโครงสร้างกับขึ้นเอ็นได้น้อยกว่าวัสดุข้างบน
น้ำหนักของไม้
ส่วนมากจะมีเขียนไว้ที่ไม้ว่าเป็นกี่กรัม หรืออาจแบ่งเป็นจำนวน U คือ 1U 2U ถึง 4U ยิ่งเลขมากยิ่งน้ำหนักเบา เช่น 4U จะมีช่วงอยู่ระหว่าง 85 กรัมลงมา, 3U จะอยู่ระหว่าง 86-89 กรัม, 2U ก็ 90-95
ถ้าน้ำหนักมากข้อดีคือทำให้ไม้มีน้ำหนัก ลูกตบตบได้หนัก (ต้องดูน้ำหนักด้วยว่าลงที่หัวไม้หรือไม่) ส่วนข้อเสีย จะเป็นเรื่องของการพลิกไม้และการรับลูก
น้ำหนักเบา สบายมือ รับลูกได้เร็ว ถ้าน้ำหนักเบา แต่มีน้ำหนักลงที่หัวไม้ก็จะยิ่งช่วยในการตบได้ดีขึ้น
เอ็นและการขึง
เอ็นถ้ายิ่งเส้นเล็ก ขนาด 0.66 มิลฯ ก็จะทำให้ยิ่งเด้งแต่ข้อเสียขาดง่าย
ส่วนถ้าขนาด 0.70 จะขาดยากแต่อาจเด้งสู้ขนาดเล็กไม่ได้ แต่พวกที่จะชอบตบจะชอบขนาดนี้
การขึงเอ็น
ปกติจะมีการขึงถ้าเป็นธรรมดาก็อยู่ระหว่าง 18-23 ปอนด์ ถ้าหนักหน่อยก็ 24 ปอนด์ ขึ้นไปแล้วแต่คุณสมบัติไม้
ถ้าขึ้นธรรมดาข้อดีคือ ทำให้มีแรงสปริงที่ดีดสามารถทำให้ลูกส่งไปถึงเส้นหลังด้านไกลสบายมือ
แต่พวกที่ชอบเล่นตบบางครั้งจะไม่ชอบเพราะมีจังหวะหน่วงระหว่างที่ลูกกระทบเอ็นอาจจะทำให้ไม่ทันใจจึงได้นิยมขึ้นเอ็นกันสูงๆ
สำหรับคนที่ไม่มีแรงหรือแรงน้อยการขึ้นเอ็นสูงๆจะทำให้ตีไม่ไป มือใหม่จึงควรขึ้นเอ็นระหว่าง 18-21 ปอนด์ไว้ก่อนแล้วค่อยเพิ่ม และการขึ้นเอ็นสูงอาจทำให้เฟรมร้าวหรือยุบหรือหักเปราะได้ ถ้าไม้นั้นคุณภาพหรือสเป็คไม่ถึง
สำหรับยี่ห้อนั้น ก็แล้วแต่ความพอใจความชอบ ต้องทดลองจับหรือดูบาลานซ์ สเป็คก็ว่ากันไป
รองเท้าแบดมินตัน
จุดที่ 1 ขอบรองเท้าเป็นวัสดุที่ทนการเสียดสีกับพื้นสนาม วัสดุหุ้มบริเวณนิ้วโป้งควรทำจากหนังแท้ เนื่องจากทนทานกว่า จากประสบการณ์ของตัวเองและสังเกตจากนักกีฬาส่วนใหญ่ จะมีปัญหารองเท้าชำรุดในส่วนนี้ โดยเฉพาะเท้าข้างเดียวกับมือที่ไม่ได้จับแร็กเก็ต เช่นคนที่ถนัดขวาจะใช้เท้าขวานำเวลารับลูกหน้าเน็ต บริเวณข้างนิ้วโป้งเท้าซ้ายก็จะลากกับพื้นเสมอ
จุดที่ 2 พื้นส้นรองเท้า และวัสดุรองส้นเท้าต้องมีความแข็งแรง และยืดหยุ่นรับการกระแทกจากน้ำหนังตัวได้ดี ช่วยป้องการการบาดเจ็บข้อเข่า
จุดที่ 3 ส้นรองเท้าที่ค่อนขึ้นมาทางเอ็นร้อยหวาย ควรโค้งมนรับน้ำหนักตัว เพราะการก้าวไปรับลูกที่ด้านหน้า หรือด้านข้างจะต้องใช้ส้นเท้าลงน้ำหนักก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บข้อเท้า
ส่วนที่ 4 คือพื้นรองเท้า ควรเลือกรองเท้าที่ทำจากยางดิบ เนื่องจากมีการจับเกาะพื้นสนามได้ดีทุกพื้นสนามไม่ว่าจะเป็น พื้นไม้ปาร์เก้ หรือพื้นยาง ปัจจุบันรองเท้ากีฬามักทำแบบแยกส่วนหน้าและส่วนหลัง เว้นตรงส่วนฝ่าเท้าไว้และใช้วัสดุพิเศษ เพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้กับฝ่าเท้าที่รองรับแรงกระแทก
ส่วนที่ 5 พื้นรองด้านใน ถ้านูนเว้าและนิ่มรับฝ่าเท้าก็จะดีมาก ช่วยให้เอ็นฝ่าเท้าไม่ต้องทำงานหนักมาก
โดยเทคโนโลยีของรองเท้าก็จะมีพวกรองส้น แบบ Power cushion จะรองรับน้ำหนักได้ดี เป็นการลดแรงกระแทก
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552
ผลงานการจับกุมที่เร็วที่สุด
http://www.spiceday.com/viewthread.php?tid=41540
http://www.ohpicpost.com/story/viewthread.php?tid=36532
คดีนี้เป็นคดีที่มีการจับกุมได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองสืบสวนฯ ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็สามารถจับตัวการคนแรกได้
http://www.ohpicpost.com/story/viewthread.php?tid=36532
คดีนี้เป็นคดีที่มีการจับกุมได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองสืบสวนฯ ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีก็สามารถจับตัวการคนแรกได้
แก็งค์สอยดาว
เกิดขึ้นเนื่องจากได้มีผู้หญิงโทรมาและขอจีบเราโดยไม่รู้จัก อ้างชื่อว่าตัวเอง ชื่อ น.ส.องุ่น ส่งรูปมาให้มากมาย และบอกว่าเป็นลูกสาวเจ้าของรีสอร์ทที่ภูเก็ต บอกเป็นลูกคนเดียวซะด้วย โดยอ้างว่าเป็นญาติกับ น.ส. มอ... ซึ่งเป็นอดีตแฟน น้องที่ทำงานเก่า บอกว่า น.ส.มอ เป็นคนแนะนำมา เพิ่งเรียนจบอยากมีแฟน ถ้าหาไม่ได้จะไปเรียนต่อเมืองนอก และที่จีบผู้ชายก่อน เพราะว่าเดี๋ยวนี้ผู้ชายไม่ค่อยกล้าจีบเพราะคิดว่า สวยรวย ฯลฯ จากนั้นก็เริ่มตีซี้ต่างๆ นานา รวมถึงส่งภาพให้อีกมากมาย แต่หารู้ไม่ว่า เราไม่ได้โง่นะ แถมเราเป็น Super Cop จะมาหลอกเราง่ายๆ ได้ไง แต่เราก็แกล้งโง่ ถามโน่นถามนี่ แต่เธอไม่ยอมบอกอะไรเท่าไหร่ สุดท้ายเราก็จับได้จากภาพที่เธอส่งมาน่ะล่ะ และก็พูดดีๆ กับเธอว่าขอถามตรงๆ ทำงานอะไร และบอกว่าเราไม่ได้คบคนที่หน้าตา หรือฐานะ นะ เธอก็วางสายไปเลย จากนั้นก็ส่งแมสเสส ทำเป็นว่าใช่สิเราเป็นคนไม่ดี ฯลฯ ประมาณว่าแถได้อีก สุดท้ายมาบอกว่า เราดีเกินไปที่จะคบเพื่อขัดเกลานิสัย ซะงั้น
จากการไปตรวจสอบจาก น้องที่ทำงานเก่าพบว่า น.ส.มอ ที่ น.ส.องุ่น อ้างนั้น ก็ได้หายไปติดต่อไม่ได้เหมือนกันซึ่งการพูดคุยก็ได้อ้างลักษณะเดียวกัน และไม่เคยพบเห็นว่าบ้านอยู่ที่ไหน (คนนี้อ้างว่าทำรีสอร์ทที่กาญจนบุรี) มีรีสอร์ท หรือมีตัวตนจริงหรือไม่ ซึ่งก็เคยมีการยืมเงิน และให้เงินน้องคนนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้หายไปอ้างว่าป่วยติดต่อไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร
ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของเธอ ว่าต้องการสิ่งใด กันแน่ อาจเป็น เงิน แบล็กเมล์ หรือ เพื่อจุดประสงค์ใด แต่ถ้าเราพลาดขึ้นมาก็จะเกิดปัญหาแน่นอน โชคดีที่เราไม่ค่อยมีความโลภ หรือคบผู้หญิงที่ความสวย ความรวย และก็ช่วงนี้ราคะน้อยซะด้วย 5555 เรื่องนี้เป็นเรื่องประหลาดมาก พวกนี้ช่างกล้าเนอะ หลอกแม้กระทั่งตำรวจ
ก็เลยเอาภาพมาให้ดูว่าอาจเป็นบุคคลคนนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
หากผู้ใดพบว่าเป็นรูปของตนที่ถูกแอบอ้างสามารถติดต่อได้ทันที เพื่อที่จะได้มีการสืบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งไม่ได้มีเจตนาเผยแพร่ กลั่นแกล้ง หรือทำให้ผู้ใดเสียหาย หรืออับอายแต่อย่างใด
จากการไปตรวจสอบจาก น้องที่ทำงานเก่าพบว่า น.ส.มอ ที่ น.ส.องุ่น อ้างนั้น ก็ได้หายไปติดต่อไม่ได้เหมือนกันซึ่งการพูดคุยก็ได้อ้างลักษณะเดียวกัน และไม่เคยพบเห็นว่าบ้านอยู่ที่ไหน (คนนี้อ้างว่าทำรีสอร์ทที่กาญจนบุรี) มีรีสอร์ท หรือมีตัวตนจริงหรือไม่ ซึ่งก็เคยมีการยืมเงิน และให้เงินน้องคนนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้หายไปอ้างว่าป่วยติดต่อไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร
ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของเธอ ว่าต้องการสิ่งใด กันแน่ อาจเป็น เงิน แบล็กเมล์ หรือ เพื่อจุดประสงค์ใด แต่ถ้าเราพลาดขึ้นมาก็จะเกิดปัญหาแน่นอน โชคดีที่เราไม่ค่อยมีความโลภ หรือคบผู้หญิงที่ความสวย ความรวย และก็ช่วงนี้ราคะน้อยซะด้วย 5555 เรื่องนี้เป็นเรื่องประหลาดมาก พวกนี้ช่างกล้าเนอะ หลอกแม้กระทั่งตำรวจ
ก็เลยเอาภาพมาให้ดูว่าอาจเป็นบุคคลคนนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
หากผู้ใดพบว่าเป็นรูปของตนที่ถูกแอบอ้างสามารถติดต่อได้ทันที เพื่อที่จะได้มีการสืบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งไม่ได้มีเจตนาเผยแพร่ กลั่นแกล้ง หรือทำให้ผู้ใดเสียหาย หรืออับอายแต่อย่างใด
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552
อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ 1
อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ(ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์)
1.สภาพปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยความหมายของทรัพย์สินทางปัญญานั้นต่างจากทรัพย์สินทั่วไป โดยได้มีผู้ให้คำนิยามหรือความหมายของคำว่าทรัพย์สินทางปัญญาไว้ต่างๆ กัน เช่น
World Intellectual Property Organisation(WIPO) ซึ่งเป็นองค์การด้านทรัพย์สินทางปัญญานานาชาติที่จัดตั้งภายในองค์การสหประชาชาติ ได้แก่สาขาของทรัพย์สินทางปัญญาไว้เป็น 2 สาขา คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม(Industrial property) ในสิ่งประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า และการออกแบบอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์(Copyright) ในวรรณกรรมดนตรี งานศิลปะ ภาพถ่าย และงานด้าน audiovisual works.(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาว่าเป็นผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดนอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น) และอสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น)ซึ่งทรัพย์สินทั้งสองประเภทเป็นทรัพย์สินที่มีตัวตน จับต้องได้(tanigible property)
จากนิยามหรือความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาได้ว่า
“ทรัพย์สินทางปัญญา คือ สิทธิ(legal right หรือ legal title)ในทรัพย์สิน(Property)ที่เกิดขึ้นจากผลงานที่ใช้สมองหรือความคิดของมนุษย์(Human intellect)
ทรัพย์สิน(property) หมายถึงสิทธิทางกฎหมาย(legal right หรือ legal title)บนตัววัตถุ มากกว่าวัตถุ(physical object หรือ article) ดังนั้นทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการคุ้มครองความคิดของมนุษย์ซึ่งจัดว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตัว หรือไม่สามารถจับต้องได้(intangible property) แต่ความคิดที่กล่าวถึงนี้มักจะปรากฏในวัตถุหรือสิ่งที่จับต้องได้ เช่นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือบทวรรณกรรมใหม่ เป็นต้น (นัยนา เกิดวิชัย:2545)
โดยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จะมีความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดเกี่ยวสิทธิบัตร การละเมิดเครื่องหมายการค้า เป็นกระทำความผิดในประเภทที่ความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด(Mala in phohibita) คือ ความผิดเพราะกฎหมายห้าม หรือการกระทำละเมิดกฎหมาย ซึ่งก็คือความผิดดังกล่าวนั้น ที่เป็นความผิดเนื่องจากมีการออกกฎหมายห้ามไว้ หากไม่มีกฎหมายกฎหมายห้ามไว้ก็จะไม่เป็นความผิด ในเรื่องของการรายงานนี้ก็จะทำการศึกษาหรือกล่าวถึงเฉพาะปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น
แต่ลิขสิทธิ์นั้นจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา จึงต้องทราบเกี่ยวกับคำว่าทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญา ต้องประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้
1.เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว(exclusivity)
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้ถือสิทธิหรือผู้ทรงสิทธิสามารถใช้สิทธิเฉพาะในการป้องกันหรือห้ามไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตกระทำการบางอย่างเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นๆ ดังนั้นในทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นแค่ exclusive right หรือ right to use ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับยา ซึ่งผู้ประดิษฐ์สามารถขอรับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรได้ แต่ผู้ทรงสิทธินั้นจะสามารถใช้สิทธิบัตรในการผลิตและจำหน่ายยานั้นได้ก็ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาเสียก่อน
ลักษณะของ exclusivity ของทรัพย์สินทางปัญญานี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านมีความเห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดระบบการผูกขาดทางการค้า(monopoly) ซึ่งเป็นเหตุให้หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องนำเข้าหรือใช้สินค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศอื่น ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานัก เนื่องจากเกรงว่าระบบการผูกขาดดังกล่าวจะทำให้เกิดผลเสียแก่ประเทศ เช่น ราคาสินค้าแพงขึ้น
2.บังคับใช้ในประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครอง(Territorial)
สิทธิที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินทางปัญญาโดยทั่วไปสามารถบังคับใช้ได้ภายในประเทศที่มีกฎหมายนั้น ๆ เช่น สิทธิบัตรไทยสามารถใช้ในภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีบางกรณีที่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามีผลบังคับใช้นอกประเทศได้ เช่น ในกรณีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือกรณีของลิขสิทธิ์เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิก Berne Convention for Protection of Copyright
3.มีอายุที่จำกัด(Limited duration)
ทรัพย์สินทางปัญญาแตกต่างจากทรัพย์สินอื่นๆ คือมีอายุที่จำกัด หลังจากวันหมดอายุของทรัพย์สินทางปัญญาแล้วสิทธิดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติ แต่มีข้อยกเว้นคือเครื่องหมายการค้าซึ่งเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถต่ออายุการคุ้มครองได้
4.โอนหรือโยกย้ายสิทธิได้(Tranferrable)
ทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนทรัพย์ทั่วๆ ไป คือสามารถโยกย้ายสิทธิจากบุคคลหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่งได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้สร้างสรรค์สามารถนำสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตนไปขายต่อให้ผู้อื่นได้(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
ลักษณะของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างจากสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าในสาระสำคัญ คือ ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น โดยไม่ต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองแก่ผู้ที่นำผลงานไปใช้หรือเผยแพร่ ซึ่งปัจจุบันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นในรูปบุคคลประเภทเดียว คือ สิทธิของนักแสดง ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิข้างเคียง(neighboring rights)
กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองและใช้บังคับเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียงในปัจจุบันของไทย คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก. ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก. ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537 และมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์นี้ได้บัญญัติให้กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับนี้ได้บัญญัติ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งใช้บังคับมานานประมาณ 10 ปีเศษ โดยมีเหตุผลดังปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินี้ว่าบทบัญญัติต่างๆ ในกฎหมายเก่าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศและระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงมาตรการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการสร้างให้มีการสร้างสรรค์งานด้านวรรณกรรม ศิลปกรรม และงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537)
2.ความหมายของลิขสิทธิ์และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งในการที่จะทราบเกี่ยวกับความผิดหรือปัญหาอาชญากรรมเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นต้องทราบถึงความหมายและต้องทราบด้วยว่าลิขสิทธิ์นั้นมีงานอะไรบ้างและมีการคุ้มครองงานใดบ้าง และจะมีข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดอย่างใด เพื่อที่ได้ทราบว่าสินค้าหรือสิ่งของ หรือสิ่งต่างๆที่เราพบเห็นหรือได้สัมผัสในชีวิตประจำวันสิ่งใดบ้างเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งใดบ้างที่ได้กระทำการเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว แต่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น”
“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้”
ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ก็คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
โดยสิทธิที่จะกระทำการได้ก็จะมีการกำหนดไว้ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งจะได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 6 โดยมีองค์ประกอบของงานอันมีลิขสิทธิ์มีดังนี้
1.เป็นงานที่สร้างสรรค์
2.ต้องเป็นงานที่มีรูปร่างปรากฏ
3.ต้องเป็นงานที่กฎหมายกำหนด
3.1 งานวรรณกรรม ในความหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นี้รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
3.2 งานนาฏกรรม
3.3 งานศิลปกรรม
3.4 ดนตรีกรรม
3.5 โสตทัศนวัสดุ
3.6 ภาพยนตร์
3.7 สิ่งบันทึกเสียง
3.8 งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
งานที่ถือว่าไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ มีการกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้กำหนดให้งานบางอย่างไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ งานเหล่านี้ได้แก่
1.ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมีลิขสิทธิ์งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2.รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3.ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบองกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4.คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5.คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม(1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
6.งานที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้แก่
6.1 งานที่สิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
6.2 งานที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
6.3 งานที่เกี่ยวกับการละเล่นบางอย่าง เช่น การประกวดนางสาวไทย การแข่งขันกีฬา การแข่งม้า เป็นต้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นงานนาฏกรรม เพราะไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราวอันกำหนดบทบาทของผู้เข้าร่วมว่าต้องเล่นอย่างไร
6.4 แบบฟอร์มที่ยังไม่มีข้อมูล เช่น กระดาษกร๊าฟ และตารางเปล่า เป็นต้น
6.5 คำวลีหรือคำเพียงคำเดียว และชื่อต่างๆ เช่น นิตินัย การะเกด ศิลปะ เป็นต้น
6.6 เครื่องหมายการค้า(trade mark)
(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
3.ลักษณะทั่วไปของลิขสิทธิ์
3.1 ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว(Exclsive Right)
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะห้ามบุคคลอื่นลอกเลียนแบบงานของตน เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิต่างๆ ตามมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติห้ามบุคคลอื่นกระทำการใดๆ อันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 6 วรรค 2 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 คุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิด(Express of idea) ฉะนั้นหากบุคคลใดเอาความคิดผู้อื่นมาสร้างสรรค์งานด้วยตนเองโดยมิได้ลอกเลียนงานของผู้อื่น(Expression of idea)แม้ว่างานที่ทำขึ้นภายหลังจะเหมือนหรือคล้ายกับงานที่เจ้าของลิขสิทธิ์สร้างไว้ ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ประเด็นนี้เป็นข้อแตกต่างสำคัญของลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เนื่องจากลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค์งานทุกคนที่สร้างสรรค์งานขึ้นโดยใช้ความวิริยะอุตสาหะของตนเอง โดยไม่ได้ลอกเลียนงานของผู้อื่นแล้ว ผู้สร้างสรรค์ต่างคนต่างได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างขึ้น ต่างจากสิทธิบัตรเพราะหลังจากผู้ประดิษฐ์ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรแล้ว ต่อมาแม้ว่าผู้ประดิษฐ์อื่นคิดค้นขึ้นมาได้เองก็ไม่มีสิทธิผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งเหมือนกันกับสิทธิบัตรจดก่อนออกจำหน่าย
3.2 ลิขสิทธิ์เป็นสหสิทธิ(Multiple Rights)
จากบทบัญญัติของกฎหมายได้ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้มีสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวโดยสามารถจะกำหนดเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม(ปรากฏตามมาตรา 15 พระราชบัญญํติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 )ทำให้ให้ลิขสิทธิ์นั้นมีความเป็นสหสิทธิ์ซึ่งมีสิทธิต่างๆ หลายประการฉะนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง จึงอาจหาประโยชน์จากงานชิ้นเดียวด้วยวิธีการต่างๆ เช่นเจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มหนึ่ง อาจอนุญาตให้โรงพิมพ์ทำซ้ำหนังสือและ อาจอนุญาตให้อีกคนหนึ่งทำการแปลหนังสือต่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นการดัดแปลงงานหรืออาจให้เช่างานประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.3 ลิขสิทธิ์แตกต่างจากกรรมสิทธิ์
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นอำนาจหวงกันมิให้ผู้อื่นมาใช้สิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่ผู้เดียว ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินธิ์ซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิ์เป็นตัวทรัพย์และกรรมสิทธิ์จะติดไปกับตัวทรัพย์เสมอ ฉะนั้นลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์จึงอาจแยกกันได้ เช่น ภาพสีน้ำมันอันเป็นงานจิตรกรรมซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของผู้วาดหรือสร้างสรรค์ การที่มีการขายให้กับผู้อื่นไป ผู้ที่ซื้อไปไม่สามารถนำภาพดังกล่าวไปอัดทำโปสการ์ดขาย หากทำก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งผู้ที่ซื้อภาพไปเป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในภาพ มิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพด้วย(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นความผิดที่ยอมความได้ หรือความผิดส่วนตัวตามมาตรา 66 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่ได้เป็นความผิดต่อรัฐ โดยความผิดที่ยอมความได้หรือความผิดส่วนตัว การดำเนินคดีนั้นหากผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ์ไม่ทำการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องร้องดำเนินคดี เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้อื่นซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายดังกล่าวก็จะไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการละเมิด และกฎหมายได้มีการกำหนดระยะเวลาของการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีไว้เป็นกำหนดระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ(ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 66)
เมื่อหากจะพิจารณาถึงสภาพของอาชญากรรมแล้วนั้นความรุนแรงแทบจะไม่จัดเป็นอาชญากรรม หากไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือกำหนดโทษเอาไว้ เนื่องจากว่าการกระทำดังกล่าวนั้น ไม่มีการส่งผลหรือสร้างความเสียหายโดยตรงกับผู้ที่ถูกละเมิด เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย หรือแม้แต่เมื่อมีการเทียบกับกฎหมายที่เป็นความผิดต่อรัฐอื่นก็ไม่เป็นการการฝ่าฝืนโดยตรงแบบที่มองเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร มียาเสพติดไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย แต่จะเป็นการส่งผลสร้างความเสียหายกับผู้ทางอ้อม เป็นการละเมิดการหวงกันสิทธิทางความคิดสร้างสรรค์ของผู้ถูกละเมิด เป็นแค่เรื่องความของเสียหายทางการขาดรายได้ หรือค่าเสียหายต่างๆ ที่น่าจะเกิดความสูญเสียโดยไม่มีการวัดได้โดยตรง แม้ว่าจะบางคนที่มีความคิดที่ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นทำให้เกิดความเสียหายมากก็ตามแต่ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดโดยตรง เป็นการละเมิดที่คิดจากการสูญเสียรายได้จากผู้ที่ถูกละเมิด ยกตัวอย่างเช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ลิขสิทธิ์ โดยการจัดทำซ้ำแผ่นซีดีเพลงหรือวีซีดีภาพยนตร์ต่างๆ แล้วทำการออกขายจัดจำหน่าย จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าการที่เอาซีดีเพลงหรือภาพยนตร์ มาทำซ้ำนั้นก็ทำโดยมีแผ่นซีดีหรือวีซีดีต้นฉบับหรือที่เรียกว่าของแท้ จัดทำการคัดลอก(Copy)หรือทำการคัดลอกโดยใช้วีธีไร้ท์(Write) แผ่น ซึ่งจะเห็นว่าผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ถูกละเมิดนั้นไม่ได้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวโดยตรง ซึ่งสามารถขายต้นฉบับหรือแผ่นซีดีหรือวีซีดีได้ตามปกติ แต่จะเกิดความเสียหายโดยอ้อมก็คือ ผู้ที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ ที่ทำการคัดลอกหรือไร้ท์แผ่นนั้น ก็จะสามารถนำแผ่นที่ทำการคัดลอกนั้น ไปทำการจัดจำหน่ายหรือไปทำการเผยแพร่เพื่อประโยชน์อื่นได้ ซึ่งการจัดจำหน่ายก็จะจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าต้นฉบับเดิม ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ที่ใช้สิทธิในแผ่นซีดีหรือแผ่นวีซีดีที่ถูกละเมิดนั้น ทำการจัดจำหน่ายได้น้อยกว่าที่ต้องการ หรือผู้ที่ทำการใช้ประโยชน์อื่นก็จะไม่ค่อยใช้แผ่นซีดีหรือแผ่นวีซีดีต้นฉบับ เนื่องจากราคาสูงกว่า แม้คุณภาพจะมากกว่าแต่ปัจจุบันมีการที่จะทำให้สินค้ามีคุณภาพก็มีความใกล้เคียงกัน แต่ราคาต่างกันมาก เมื่อได้ทำการเปรียบเทียบกันแล้ว จะทำให้ผู้ที่จะทำการบริโภคซึ่งมีรายได้น้อยหรือปานกลาง มีโอกาสสูงที่จะทำการใช้สิ่งของหรือสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์มากกว่าเช่น กรณีแผ่นซีดีหรือวีซีดีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งในบางครั้งอย่างแผ่นซีดีหรือวีซีดี หรือดีวีดี จะสามารถรวบรวมเพลงหรือภาพยนตร์ที่หลายหลายได้มากกว่า โดยได้รวบรวมจากบริษัทต่างๆ หรือค่ายเพลงต่างๆ โดยไม่ได้จำกัดบริษัทหรือค่าย ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสและมีทางเลือกที่มากกว่าและมีโอกาสสูงที่จะใช้สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้บริโภคระดับล่างหรือระดับกลางก็ไม่ได้มีความต้องการจะใช้สินค้าคุณภาพสูงเท่าใดนัก ส่วนความเสียหายยากที่จะทำการประเมิน หากทำได้ก็เพียงเทียบเคียงหากมีการจำหน่ายหรือจัดการเรื่องผลประโยชน์แล้วจะขาดรายได้เท่าใด ในกรณีนี้ความเสียหายของผู้ถูกละเมิดตามเท่าที่มีการประเมินหรือเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพหรือคำนวณค่าเสียหายได้ หากคำนวณหรือมองมุมมองแบบทั่วไปหรือแบบธรรมดา ก็จะสามารถคำนวณได้แค่เพียงจากจำนวนสินค้าที่ผู้ละเมิดได้ทำขึ้นและเทียบกับมูลค่ากับสินค้าของเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น แผ่นวีซีดีเพลงของแกรมมี่ ราคาแผ่นละ 200 บาท มีผู้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำแผ่นวีซีดี จำนวน 20 แผ่น ออกขายและทำการออกขาย ก็จะได้ราคา 400 บาท ก็จะเท่ากับละเมิดค่าเสียหาย 400 บาท แต่ก็มีการเรียกค่าเสียหายที่เพิ่มมากกว่านั้น ซึ่งจำนวนที่มากกว่า 400 บาท ซึ่งเป็นเรื่องของตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับมอบอำนาจมากเป็นผู้เจรจา จึงไม่สามารถคำนวณค่าเสียหายที่แท้จริงได้ แต่เมื่อเรียกค่าเสียหายนั้น ได้มีการจำนวนค่าเสียหายอื่นนั้นมีการคำนวณการขาดรายได้หรือค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพิ่มเติมซึ่งบางครั้งก็มีการที่จะเรียกค่าเสียหายมากเกินควร โดยในทางปฏิบัติทางคดีอาญานั้นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัวแทนของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นจะเป็นผู้ไปทำการตรวจสอบและได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์กับพนักงานสอบสวน จะไม่ค่อยมีการไปฟ้องศาลเอง เนื่องจากดูคล้ายว่าเป็นการไม่ค่อยมีการบังคับใช้แบบเด็ดขาด โดยไม่มีการจับกุมขณะกระทำความผิด หรือความผิดซึ่งหน้า ทำให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่เกิดความเกรงกลัวในการจ่ายค่าเสียหาย หรือการกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์
ส่วนความรุนแรงของปัญหานั้นปัจจุบันในสังคมไทยนั้น ก็มีการใช้สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทั่วไป หากจะกล่าวถึงความรุนแรงในการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นถือว่าอยู่ในขั้นที่รุนแรงถ้ามองจากสินค้าและสิ่งของที่ใช้ชีวิตประจำวัน แม้จะมีกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นั้นกำหนดโทษเอาไว้ก็ตามแต่ก็ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ทั่วไป แต่หากจะพูดถึงความรุนแรงที่มีกระทบต่อสังคมหรือส่วนรวม ก็คงจะไม่ถือว่าเป็นความรุนแรงเนื่องจากว่าความเสียหายดังกล่าวไม่ได้เกิดต่อประชาชนโดยตรง หากความเสียหายนั้นจะเกิดแต่กับเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนประชาชนทั่วไปก็จะใช้ประโยชน์จากผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยได้ทำการใช้สินค้าสิ่งของที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีราคาถูก และสินค้าสิ่งของบางอย่างที่ละเมิดลิขสิทธิ์ก็มีคุณภาพใกล้เคียงกัน มีเพียงบางอย่างที่คุณภาพต่างกันมาก แต่ราคาของสินค้าก็ต่ำกว่ามากเช่นกัน ซึ่งบางคนจะมีความคิดที่ว่าหากเทียบคุณภาพกับราคากันแล้วก็ใกล้เคียงกัน แต่จะเลือกสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากราคานั้นจะถูกกว่า ส่วนมากการใช้สินค้าดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นสินค้าที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาใด เป็นการใช้สินค้าที่ใช้ในประจำวันทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แผ่นซีดีหรือวีซีดีหรือดีวีดี เพลงหรือภาพยนตร์ หมึกเครื่องพิมพ์ ปากกา นาฬิกา ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเป็นเครื่องใช้ที่ประชาชนต้องทำการใช้อยู่แล้ว และยังทำให้สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุ เครื่องเล่นวีซีดี ฯลฯ หากเป็นของแท้หรือของที่เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นเป็นผู้ผลิตจัดทำขึ้นก็จะมีราคาที่สูงกว่ามาก ผู้ที่ไม่ค่อยมีฐานะหรือฐานะปานกลางไม่สามารถใช้ได้หากเป็นของเลียนแบบหรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ผู้บริโภคระดับล่างสามารถใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าได้ แต่ผลกระทบกับประชาชนทั่วไปโดยตรงจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบ ยกเว้น กรณีที่เป็นการขายสินค้าเลียนแบบสิ่งนั้น โดยการปลอมเครื่องหมายการค้าของสินค้าต้นฉบับ ก็จะเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้าด้วย แต่สินค้านั้นไม่มีความปลอดภัยหรือไม่ได้มาตรฐาน แต่ทำการจำหน่ายในราคาเท่ากัน เช่น พัดลมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งปลอมเป็น ฮิตาชิ จำหน่ายในราคาเท่ากัน หรือแค่เพียงราคาถูกกว่าเล็กน้อย แต่คุณภาพต่างกันมาก โดยหลอกลวงว่าเป็นสินค้าของต้นฉบับคือฮิตาชิอีก อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดไฟไหม้ หรือชำรุดแล้วส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ชีวิตได้ การถือว่าเป็นขายสินค้าที่หลอกลวงในคุณภาพด้วย ถือว่าเป็นการฉ้อโกงอย่างหนึ่งตามกฎหมายอีกความผิดหนึ่ง หรือยาสระผมที่ใช้ยี่ห้ออื่น แต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ใช้ ซึ่งการที่กระทำดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งสองกรณี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าพัดลม หรือยาสระผม หรือสินค้าอื่นๆ ทั่วไป รวมถึงสินค้าที่เป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่มด้วย หากได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าแต่คุณภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจนทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ หรือผู้บริโภคได้ โดยราคาก็ได้คิดเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ส่วนความเสียหายอื่นที่เป็นในภาพส่วนรวมก็จะเป็นเรื่องของการเสียสัมพันธ์ในการดำเนินการธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น หากประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในสินค้าต่างๆของต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ประเทศอื่นๆ ไม่กล้าที่จะทำการลงทุนหรือทำการติดต่อทำการซื้อขายสินค้าในประเทศไทย หรืออาจจะทำให้มีการตัดความสัมพันธ์หรือการติดต่อให้ความช่วยเหลือประเทศไทยทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจประเทศเสียหาย ซึ่งเป็นภาพส่วนรวมของประเทศ โดยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ เป็นการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ได้ใน ปี พ.ศ.2537 ทั้งที่การละเมิดลิขสิทธิ์มีมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนเรื่องทางแพ่งนั้นก็ได้มีการกำหนดใช้ได้ก่อนที่จะออกกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นเรื่องของการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งสามารถฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายได้อยู่แล้ว แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ก็ได้ทำการบัญญัติโทษทางอาญาขึ้นมาเพื่อให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดการความเข็ดหลาบและเกรงกลัวโทษทางกฎหมาย
กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันนี้ก็จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยได้มีการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ทั้งหมด ซึ่งบทกำหนดโทษมีอัตราโทษปรับสูง ตัวอย่างเช่น มาตรา 70 วรรคสอง ในพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการค้า ขาย จำหน่าย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอเช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ แจกจ่าย
นำหรือสั่งนำเข้าในงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าจะเทียบให้เห็นภาพก็คือ การขายแผ่นวีซีดี ซีดีภาพยนตร์หรือเพลง ที่ทำซ้ำหรือคัดลอก ไร้ท์(write)มา มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปีหรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในระหว่างโทษนี้ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะได้ทำการพิจารณาว่าจะลงโทษเท่าใด ซึ่งในการออกกฎหมายมาบังคับในตอนแรกนั้น ก็จะมีการพิพากษาลงโทษในอัตราสูง
2.พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับในการจัดฉายภาพและเสียงรวมถึงการผลิต จำหน่าย หรือใช้ประโยชน์ในวัสดุโทรทัศน์ โดยจะนำมาใช้บังคับควบคู่กัน หากมีความผิดใดที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การกระทำการขายแผ่นซีดี วีซีดี ภาพยนตร์ เพลงต่างๆ รวมถึงการจัดฉายด้วย ซึ่งหากไม่มีการได้รับอนุญาตหรือตรวจสอบจากนายทะเบียนตามกฎหมายนี้ ก็จะมีความผิดตามกฎหมายในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
แนวความคิดที่มีการให้มีการบังใช้กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
ปัจจุบันในกฎหมายของประเทศไทย กฎหมายที่มีโทษทางอาญา ใช้บังคับเพื่อให้มีการลงโทษผู้ที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นซึ่งหากไม่เกี่ยวข้องกับความผิดละเมิดสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าก็จะมีเพียงกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งตราบัญญัติออกมาเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพัฒนาการที่มีต้นแบบมาจากประเทศภาคพื้นตะวันตก โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ วัตถุประสงค์หลักดั้งเดิมมุ่งที่การคุ้มครองผลงานที่เกิดจากการใช้ความคิด ความพยายามของมนุษย์ ผลงานดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ งานศิลปกรรม เป็นต้น แต่ในปัจจุบันบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยในเวทีการค้าโลก (World Trade Organisation)
การที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement of Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights,Including Trade in Counterfeiting Goods หรือที่เรียกวา TRIPs Agreement) ซึ่งเป็นผลมาจากการเจรจาความตกลงทั่วไปทางภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreemention Tariffs and Trade หรือ GATT) และเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งอยู่ภายใต้ WTO Agreement ซึ่ง TRIPs Agreement มีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิก WTO (นัยนา เกิดวิชัย:2545)
การคุ้มครองและพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา
การดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแบ่งได้เป็นส่วน 3 ส่วน คือ
1.การออกแบบและการใช้กฎหมาย(Introduction and Implement
การออกแบบและการใช้กฎหมายเป็นขั้นตอนแรกในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในประเทศไทย หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์(ยกเว้นกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชซึ่งรับผิดชอบโดยกรมวิชาการเกษตร)ปัจจุบันการออกและปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในหลายประเทศเป็นผลกระทบมาจากการเข้าเป็นสมาชิกของอนุสัญญาการค้าโลก (WTO Agreement) ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIP’s Agreement) ที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในประเทศไทยจึงได้มีการออกกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาบังคับใช้
2.การแสวงหาสิทธิ(Seeking legal protection)
เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล(private property)ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่เจ้าของผลงานเองในการแสวงหาสิทธิ รัฐจะไม่มอบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้ถ้าไม่มีคำร้องขอสิทธิจากเจ้าของผลงาน ซึ่งระบบทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นระบบสมัครใจ(voluntary system) อาจมีข้อยกเว้นในเรื่องลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดโดยอัตโนมัติหลังจากผลงานได้เกิดขึ้น
3.การบังคับใช้สิทธิ(Enforcement)
ในเรื่องการบังคับใช้สิทธินับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ซึ่ง TRIPs Agreement ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมากถึงกับกำหนดว่าประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการบังคับสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่องการบังคับใช้สิทธินั้นมีบุคคลที่เกี่ยวข้องคือ (1) เจ้าของสิทธิ (2) หน่วยงานด้านตุลาการ อันเป็นระบบศาลสถิตยุติธรรมซึ่งในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาคดีความด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะ คือ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เจ้าของสิทธิมีหน้าที่สำคัญในการพิทักษ์สิทธิ โดยต้องสอดส่องว่าได้มีผู้อื่นละเมิดสิทธิในด้านทรัพย์สินทางปัญญาของตนหรือไม่ ซึ่งถ้าพบว่ามีการละเมิดก็สามารถนำเรื่องขึ้นให้ศาลพิจารณาความยุติธรรม ในคดีทรัพย์สินทางปัญญามีความพิเศษกว่าคดีอื่นๆ ที่ว่าศาลสามารถออกคำสั่งต่างๆ ก่อนที่จะได้มีการพิจารณาคดีกันจริง เช่น การออกคำสั่ง Interlocutory injunction เป็นต้น
การป้องกันและการแก้ไขในการละเมิดลิขสิทธิ์
1.มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รัดกุม มีบทบังคับให้ชัดเจนเป็นช่องว่างในด้านต่างๆ ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์จากกฎหมายเช่น การบัญญัติให้ ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์มีอัตราโทษปรับสูง แต่สามารถยอมความได้ โดยข้อดีก็คือ หากผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ชดใช้หรือบรรเทาเรื่องความเสียหายต่อผู้เสียหายคือเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ติดใจในการดำเนินคดีก็สามารถจะถอนคำร้องทุกข์หรือถอนฟ้องได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เนื่องจากไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรง แต่ขอเสียก็คือ ในปัจจุบันซึ่งผู้ที่ทำการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง โดยเฉพาะเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เป็นบริษัท จะมีการมอบอำนาจหรือตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งบางครั้งก็มีกรณีที่มีการซื้อใบมอบอำนาจและไปทำการแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวนพอมีการจับกุมผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์แล้วก็มีการเรียกค่าเสียหาย โดยมีการขู่กับผู้ต้องหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ว่าหากไม่จ่ายค่าเสียหายก็จะถูกดำเนินคดีติดคุกขึ้นศาล ซึ่งจะขู่ต่างๆ นานา ทำให้ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เกิดความกลัว จนต้องจ่ายค่าเสียหาย เมื่อได้ค่าเสียหายแล้วผู้รับมอบอำนาจก็ถอนคำร้องทุกข์ แล้วก็ปล่อยให้มีการขายอีก หากเป็นลิขสิทธิ์เกี่ยวกับตู้เพลงคาราโอเกะ ผู้รับมอบอำนาจก็จะทำการขายสติ๊กเกอร์ให้ติดแล้วก็ปล่อยไป ซึ่งไม่ได้ประสงค์จะคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง เป็นเพียงการใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ตนเอง โดยบางครั้งก็มีการกระทำคล้ายกรรโชกกัน ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งบางครั้งก็ได้ทำผิดเพียงเล็กน้อย ไม่ร้ายแรงหรือไม่ใช่รายใหญ่ ไม่ได้คุ้มครองสิทธิตนเองอย่างจริงจัง
2.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
3.เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในมาตรฐานอยู่เสมอ
4.ให้การศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ทราบถึงผลเสียในการละเมิด รวมถึงข้อกฎหมาย
1.สภาพปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยความหมายของทรัพย์สินทางปัญญานั้นต่างจากทรัพย์สินทั่วไป โดยได้มีผู้ให้คำนิยามหรือความหมายของคำว่าทรัพย์สินทางปัญญาไว้ต่างๆ กัน เช่น
World Intellectual Property Organisation(WIPO) ซึ่งเป็นองค์การด้านทรัพย์สินทางปัญญานานาชาติที่จัดตั้งภายในองค์การสหประชาชาติ ได้แก่สาขาของทรัพย์สินทางปัญญาไว้เป็น 2 สาขา คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม(Industrial property) ในสิ่งประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า และการออกแบบอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์(Copyright) ในวรรณกรรมดนตรี งานศิลปะ ภาพถ่าย และงานด้าน audiovisual works.(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาว่าเป็นผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดนอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น) และอสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น)ซึ่งทรัพย์สินทั้งสองประเภทเป็นทรัพย์สินที่มีตัวตน จับต้องได้(tanigible property)
จากนิยามหรือความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาได้ว่า
“ทรัพย์สินทางปัญญา คือ สิทธิ(legal right หรือ legal title)ในทรัพย์สิน(Property)ที่เกิดขึ้นจากผลงานที่ใช้สมองหรือความคิดของมนุษย์(Human intellect)
ทรัพย์สิน(property) หมายถึงสิทธิทางกฎหมาย(legal right หรือ legal title)บนตัววัตถุ มากกว่าวัตถุ(physical object หรือ article) ดังนั้นทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการคุ้มครองความคิดของมนุษย์ซึ่งจัดว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตัว หรือไม่สามารถจับต้องได้(intangible property) แต่ความคิดที่กล่าวถึงนี้มักจะปรากฏในวัตถุหรือสิ่งที่จับต้องได้ เช่นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือบทวรรณกรรมใหม่ เป็นต้น (นัยนา เกิดวิชัย:2545)
โดยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จะมีความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ การละเมิดเกี่ยวสิทธิบัตร การละเมิดเครื่องหมายการค้า เป็นกระทำความผิดในประเภทที่ความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด(Mala in phohibita) คือ ความผิดเพราะกฎหมายห้าม หรือการกระทำละเมิดกฎหมาย ซึ่งก็คือความผิดดังกล่าวนั้น ที่เป็นความผิดเนื่องจากมีการออกกฎหมายห้ามไว้ หากไม่มีกฎหมายกฎหมายห้ามไว้ก็จะไม่เป็นความผิด ในเรื่องของการรายงานนี้ก็จะทำการศึกษาหรือกล่าวถึงเฉพาะปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น
แต่ลิขสิทธิ์นั้นจัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญา จึงต้องทราบเกี่ยวกับคำว่าทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญา ต้องประกอบด้วยลักษณะต่อไปนี้
1.เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว(exclusivity)
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้ถือสิทธิหรือผู้ทรงสิทธิสามารถใช้สิทธิเฉพาะในการป้องกันหรือห้ามไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตกระทำการบางอย่างเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นๆ ดังนั้นในทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นแค่ exclusive right หรือ right to use ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับยา ซึ่งผู้ประดิษฐ์สามารถขอรับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรได้ แต่ผู้ทรงสิทธินั้นจะสามารถใช้สิทธิบัตรในการผลิตและจำหน่ายยานั้นได้ก็ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาเสียก่อน
ลักษณะของ exclusivity ของทรัพย์สินทางปัญญานี้ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านมีความเห็นว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดระบบการผูกขาดทางการค้า(monopoly) ซึ่งเป็นเหตุให้หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องนำเข้าหรือใช้สินค้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาจากประเทศอื่น ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานัก เนื่องจากเกรงว่าระบบการผูกขาดดังกล่าวจะทำให้เกิดผลเสียแก่ประเทศ เช่น ราคาสินค้าแพงขึ้น
2.บังคับใช้ในประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครอง(Territorial)
สิทธิที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินทางปัญญาโดยทั่วไปสามารถบังคับใช้ได้ภายในประเทศที่มีกฎหมายนั้น ๆ เช่น สิทธิบัตรไทยสามารถใช้ในภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีบางกรณีที่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามีผลบังคับใช้นอกประเทศได้ เช่น ในกรณีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเป็นสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือกรณีของลิขสิทธิ์เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิก Berne Convention for Protection of Copyright
3.มีอายุที่จำกัด(Limited duration)
ทรัพย์สินทางปัญญาแตกต่างจากทรัพย์สินอื่นๆ คือมีอายุที่จำกัด หลังจากวันหมดอายุของทรัพย์สินทางปัญญาแล้วสิทธิดังกล่าวตกเป็นสาธารณสมบัติ แต่มีข้อยกเว้นคือเครื่องหมายการค้าซึ่งเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถต่ออายุการคุ้มครองได้
4.โอนหรือโยกย้ายสิทธิได้(Tranferrable)
ทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนทรัพย์ทั่วๆ ไป คือสามารถโยกย้ายสิทธิจากบุคคลหนึ่งไปให้อีกคนหนึ่งได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้สร้างสรรค์สามารถนำสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตนไปขายต่อให้ผู้อื่นได้(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
ลักษณะของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างจากสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าในสาระสำคัญ คือ ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น โดยไม่ต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองแก่ผู้ที่นำผลงานไปใช้หรือเผยแพร่ ซึ่งปัจจุบันมีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นในรูปบุคคลประเภทเดียว คือ สิทธิของนักแสดง ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิข้างเคียง(neighboring rights)
กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองและใช้บังคับเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียงในปัจจุบันของไทย คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก. ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 59 ก. ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2537 และมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์นี้ได้บัญญัติให้กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับนี้ได้บัญญัติ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ซึ่งใช้บังคับมานานประมาณ 10 ปีเศษ โดยมีเหตุผลดังปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัตินี้ว่าบทบัญญัติต่างๆ ในกฎหมายเก่าไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศและระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงมาตรการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการสร้างให้มีการสร้างสรรค์งานด้านวรรณกรรม ศิลปกรรม และงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537)
2.ความหมายของลิขสิทธิ์และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งในการที่จะทราบเกี่ยวกับความผิดหรือปัญหาอาชญากรรมเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นต้องทราบถึงความหมายและต้องทราบด้วยว่าลิขสิทธิ์นั้นมีงานอะไรบ้างและมีการคุ้มครองงานใดบ้าง และจะมีข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดอย่างใด เพื่อที่ได้ทราบว่าสินค้าหรือสิ่งของ หรือสิ่งต่างๆที่เราพบเห็นหรือได้สัมผัสในชีวิตประจำวันสิ่งใดบ้างเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งใดบ้างที่ได้กระทำการเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์แล้ว แต่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น”
“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้”
ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ก็คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
โดยสิทธิที่จะกระทำการได้ก็จะมีการกำหนดไว้ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งจะได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 6 โดยมีองค์ประกอบของงานอันมีลิขสิทธิ์มีดังนี้
1.เป็นงานที่สร้างสรรค์
2.ต้องเป็นงานที่มีรูปร่างปรากฏ
3.ต้องเป็นงานที่กฎหมายกำหนด
3.1 งานวรรณกรรม ในความหมายตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นี้รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
3.2 งานนาฏกรรม
3.3 งานศิลปกรรม
3.4 ดนตรีกรรม
3.5 โสตทัศนวัสดุ
3.6 ภาพยนตร์
3.7 สิ่งบันทึกเสียง
3.8 งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
งานที่ถือว่าไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ มีการกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้กำหนดให้งานบางอย่างไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ งานเหล่านี้ได้แก่
1.ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมีลิขสิทธิ์งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
2.รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
3.ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบองกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
4.คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5.คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม(1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
6.งานที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้แก่
6.1 งานที่สิ้นสุดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์
6.2 งานที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
6.3 งานที่เกี่ยวกับการละเล่นบางอย่าง เช่น การประกวดนางสาวไทย การแข่งขันกีฬา การแข่งม้า เป็นต้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นงานนาฏกรรม เพราะไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราวอันกำหนดบทบาทของผู้เข้าร่วมว่าต้องเล่นอย่างไร
6.4 แบบฟอร์มที่ยังไม่มีข้อมูล เช่น กระดาษกร๊าฟ และตารางเปล่า เป็นต้น
6.5 คำวลีหรือคำเพียงคำเดียว และชื่อต่างๆ เช่น นิตินัย การะเกด ศิลปะ เป็นต้น
6.6 เครื่องหมายการค้า(trade mark)
(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
3.ลักษณะทั่วไปของลิขสิทธิ์
3.1 ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว(Exclsive Right)
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะห้ามบุคคลอื่นลอกเลียนแบบงานของตน เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิต่างๆ ตามมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กฎหมายลิขสิทธิ์บัญญัติห้ามบุคคลอื่นกระทำการใดๆ อันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 6 วรรค 2 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 คุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิด(Express of idea) ฉะนั้นหากบุคคลใดเอาความคิดผู้อื่นมาสร้างสรรค์งานด้วยตนเองโดยมิได้ลอกเลียนงานของผู้อื่น(Expression of idea)แม้ว่างานที่ทำขึ้นภายหลังจะเหมือนหรือคล้ายกับงานที่เจ้าของลิขสิทธิ์สร้างไว้ ก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ประเด็นนี้เป็นข้อแตกต่างสำคัญของลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เนื่องจากลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค์งานทุกคนที่สร้างสรรค์งานขึ้นโดยใช้ความวิริยะอุตสาหะของตนเอง โดยไม่ได้ลอกเลียนงานของผู้อื่นแล้ว ผู้สร้างสรรค์ต่างคนต่างได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างขึ้น ต่างจากสิทธิบัตรเพราะหลังจากผู้ประดิษฐ์ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรแล้ว ต่อมาแม้ว่าผู้ประดิษฐ์อื่นคิดค้นขึ้นมาได้เองก็ไม่มีสิทธิผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งเหมือนกันกับสิทธิบัตรจดก่อนออกจำหน่าย
3.2 ลิขสิทธิ์เป็นสหสิทธิ(Multiple Rights)
จากบทบัญญัติของกฎหมายได้ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้มีสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์และสิ่งบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น และอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวโดยสามารถจะกำหนดเงื่อนไขหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม(ปรากฏตามมาตรา 15 พระราชบัญญํติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 )ทำให้ให้ลิขสิทธิ์นั้นมีความเป็นสหสิทธิ์ซึ่งมีสิทธิต่างๆ หลายประการฉะนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง จึงอาจหาประโยชน์จากงานชิ้นเดียวด้วยวิธีการต่างๆ เช่นเจ้าของลิขสิทธิ์ในหนังสือเล่มหนึ่ง อาจอนุญาตให้โรงพิมพ์ทำซ้ำหนังสือและ อาจอนุญาตให้อีกคนหนึ่งทำการแปลหนังสือต่างประเทศซึ่งถือว่าเป็นการดัดแปลงงานหรืออาจให้เช่างานประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.3 ลิขสิทธิ์แตกต่างจากกรรมสิทธิ์
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นอำนาจหวงกันมิให้ผู้อื่นมาใช้สิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่ผู้เดียว ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินธิ์ซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิ์เป็นตัวทรัพย์และกรรมสิทธิ์จะติดไปกับตัวทรัพย์เสมอ ฉะนั้นลิขสิทธิ์และกรรมสิทธิ์จึงอาจแยกกันได้ เช่น ภาพสีน้ำมันอันเป็นงานจิตรกรรมซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของผู้วาดหรือสร้างสรรค์ การที่มีการขายให้กับผู้อื่นไป ผู้ที่ซื้อไปไม่สามารถนำภาพดังกล่าวไปอัดทำโปสการ์ดขาย หากทำก็จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งผู้ที่ซื้อภาพไปเป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์ในภาพ มิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพด้วย(นัยนา เกิดวิชัย:2545)
การละเมิดลิขสิทธิ์นั้นเป็นความผิดที่ยอมความได้ หรือความผิดส่วนตัวตามมาตรา 66 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่ได้เป็นความผิดต่อรัฐ โดยความผิดที่ยอมความได้หรือความผิดส่วนตัว การดำเนินคดีนั้นหากผู้เสียหายหรือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ์ไม่ทำการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องร้องดำเนินคดี เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้อื่นซึ่งไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายดังกล่าวก็จะไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการละเมิด และกฎหมายได้มีการกำหนดระยะเวลาของการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีไว้เป็นกำหนดระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ(ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 66)
เมื่อหากจะพิจารณาถึงสภาพของอาชญากรรมแล้วนั้นความรุนแรงแทบจะไม่จัดเป็นอาชญากรรม หากไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือกำหนดโทษเอาไว้ เนื่องจากว่าการกระทำดังกล่าวนั้น ไม่มีการส่งผลหรือสร้างความเสียหายโดยตรงกับผู้ที่ถูกละเมิด เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย หรือแม้แต่เมื่อมีการเทียบกับกฎหมายที่เป็นความผิดต่อรัฐอื่นก็ไม่เป็นการการฝ่าฝืนโดยตรงแบบที่มองเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร มียาเสพติดไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย แต่จะเป็นการส่งผลสร้างความเสียหายกับผู้ทางอ้อม เป็นการละเมิดการหวงกันสิทธิทางความคิดสร้างสรรค์ของผู้ถูกละเมิด เป็นแค่เรื่องความของเสียหายทางการขาดรายได้ หรือค่าเสียหายต่างๆ ที่น่าจะเกิดความสูญเสียโดยไม่มีการวัดได้โดยตรง แม้ว่าจะบางคนที่มีความคิดที่ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นทำให้เกิดความเสียหายมากก็ตามแต่ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดโดยตรง เป็นการละเมิดที่คิดจากการสูญเสียรายได้จากผู้ที่ถูกละเมิด ยกตัวอย่างเช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ลิขสิทธิ์ โดยการจัดทำซ้ำแผ่นซีดีเพลงหรือวีซีดีภาพยนตร์ต่างๆ แล้วทำการออกขายจัดจำหน่าย จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าการที่เอาซีดีเพลงหรือภาพยนตร์ มาทำซ้ำนั้นก็ทำโดยมีแผ่นซีดีหรือวีซีดีต้นฉบับหรือที่เรียกว่าของแท้ จัดทำการคัดลอก(Copy)หรือทำการคัดลอกโดยใช้วีธีไร้ท์(Write) แผ่น ซึ่งจะเห็นว่าผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ถูกละเมิดนั้นไม่ได้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวโดยตรง ซึ่งสามารถขายต้นฉบับหรือแผ่นซีดีหรือวีซีดีได้ตามปกติ แต่จะเกิดความเสียหายโดยอ้อมก็คือ ผู้ที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ ที่ทำการคัดลอกหรือไร้ท์แผ่นนั้น ก็จะสามารถนำแผ่นที่ทำการคัดลอกนั้น ไปทำการจัดจำหน่ายหรือไปทำการเผยแพร่เพื่อประโยชน์อื่นได้ ซึ่งการจัดจำหน่ายก็จะจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าต้นฉบับเดิม ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ที่ใช้สิทธิในแผ่นซีดีหรือแผ่นวีซีดีที่ถูกละเมิดนั้น ทำการจัดจำหน่ายได้น้อยกว่าที่ต้องการ หรือผู้ที่ทำการใช้ประโยชน์อื่นก็จะไม่ค่อยใช้แผ่นซีดีหรือแผ่นวีซีดีต้นฉบับ เนื่องจากราคาสูงกว่า แม้คุณภาพจะมากกว่าแต่ปัจจุบันมีการที่จะทำให้สินค้ามีคุณภาพก็มีความใกล้เคียงกัน แต่ราคาต่างกันมาก เมื่อได้ทำการเปรียบเทียบกันแล้ว จะทำให้ผู้ที่จะทำการบริโภคซึ่งมีรายได้น้อยหรือปานกลาง มีโอกาสสูงที่จะทำการใช้สิ่งของหรือสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์มากกว่าเช่น กรณีแผ่นซีดีหรือวีซีดีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งในบางครั้งอย่างแผ่นซีดีหรือวีซีดี หรือดีวีดี จะสามารถรวบรวมเพลงหรือภาพยนตร์ที่หลายหลายได้มากกว่า โดยได้รวบรวมจากบริษัทต่างๆ หรือค่ายเพลงต่างๆ โดยไม่ได้จำกัดบริษัทหรือค่าย ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสและมีทางเลือกที่มากกว่าและมีโอกาสสูงที่จะใช้สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้บริโภคระดับล่างหรือระดับกลางก็ไม่ได้มีความต้องการจะใช้สินค้าคุณภาพสูงเท่าใดนัก ส่วนความเสียหายยากที่จะทำการประเมิน หากทำได้ก็เพียงเทียบเคียงหากมีการจำหน่ายหรือจัดการเรื่องผลประโยชน์แล้วจะขาดรายได้เท่าใด ในกรณีนี้ความเสียหายของผู้ถูกละเมิดตามเท่าที่มีการประเมินหรือเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพหรือคำนวณค่าเสียหายได้ หากคำนวณหรือมองมุมมองแบบทั่วไปหรือแบบธรรมดา ก็จะสามารถคำนวณได้แค่เพียงจากจำนวนสินค้าที่ผู้ละเมิดได้ทำขึ้นและเทียบกับมูลค่ากับสินค้าของเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น แผ่นวีซีดีเพลงของแกรมมี่ ราคาแผ่นละ 200 บาท มีผู้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำแผ่นวีซีดี จำนวน 20 แผ่น ออกขายและทำการออกขาย ก็จะได้ราคา 400 บาท ก็จะเท่ากับละเมิดค่าเสียหาย 400 บาท แต่ก็มีการเรียกค่าเสียหายที่เพิ่มมากกว่านั้น ซึ่งจำนวนที่มากกว่า 400 บาท ซึ่งเป็นเรื่องของตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับมอบอำนาจมากเป็นผู้เจรจา จึงไม่สามารถคำนวณค่าเสียหายที่แท้จริงได้ แต่เมื่อเรียกค่าเสียหายนั้น ได้มีการจำนวนค่าเสียหายอื่นนั้นมีการคำนวณการขาดรายได้หรือค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพิ่มเติมซึ่งบางครั้งก็มีการที่จะเรียกค่าเสียหายมากเกินควร โดยในทางปฏิบัติทางคดีอาญานั้นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัวแทนของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นจะเป็นผู้ไปทำการตรวจสอบและได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์กับพนักงานสอบสวน จะไม่ค่อยมีการไปฟ้องศาลเอง เนื่องจากดูคล้ายว่าเป็นการไม่ค่อยมีการบังคับใช้แบบเด็ดขาด โดยไม่มีการจับกุมขณะกระทำความผิด หรือความผิดซึ่งหน้า ทำให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่เกิดความเกรงกลัวในการจ่ายค่าเสียหาย หรือการกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์
ส่วนความรุนแรงของปัญหานั้นปัจจุบันในสังคมไทยนั้น ก็มีการใช้สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทั่วไป หากจะกล่าวถึงความรุนแรงในการละเมิดลิขสิทธิ์นั้นถือว่าอยู่ในขั้นที่รุนแรงถ้ามองจากสินค้าและสิ่งของที่ใช้ชีวิตประจำวัน แม้จะมีกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นั้นกำหนดโทษเอาไว้ก็ตามแต่ก็ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ทั่วไป แต่หากจะพูดถึงความรุนแรงที่มีกระทบต่อสังคมหรือส่วนรวม ก็คงจะไม่ถือว่าเป็นความรุนแรงเนื่องจากว่าความเสียหายดังกล่าวไม่ได้เกิดต่อประชาชนโดยตรง หากความเสียหายนั้นจะเกิดแต่กับเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนประชาชนทั่วไปก็จะใช้ประโยชน์จากผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยได้ทำการใช้สินค้าสิ่งของที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งมีราคาถูก และสินค้าสิ่งของบางอย่างที่ละเมิดลิขสิทธิ์ก็มีคุณภาพใกล้เคียงกัน มีเพียงบางอย่างที่คุณภาพต่างกันมาก แต่ราคาของสินค้าก็ต่ำกว่ามากเช่นกัน ซึ่งบางคนจะมีความคิดที่ว่าหากเทียบคุณภาพกับราคากันแล้วก็ใกล้เคียงกัน แต่จะเลือกสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากราคานั้นจะถูกกว่า ส่วนมากการใช้สินค้าดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นสินค้าที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาใด เป็นการใช้สินค้าที่ใช้ในประจำวันทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แผ่นซีดีหรือวีซีดีหรือดีวีดี เพลงหรือภาพยนตร์ หมึกเครื่องพิมพ์ ปากกา นาฬิกา ฯลฯ จะเห็นได้ว่าเป็นเครื่องใช้ที่ประชาชนต้องทำการใช้อยู่แล้ว และยังทำให้สินค้าบางอย่างเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือย เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุ เครื่องเล่นวีซีดี ฯลฯ หากเป็นของแท้หรือของที่เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นเป็นผู้ผลิตจัดทำขึ้นก็จะมีราคาที่สูงกว่ามาก ผู้ที่ไม่ค่อยมีฐานะหรือฐานะปานกลางไม่สามารถใช้ได้หากเป็นของเลียนแบบหรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ผู้บริโภคระดับล่างสามารถใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าได้ แต่ผลกระทบกับประชาชนทั่วไปโดยตรงจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบ ยกเว้น กรณีที่เป็นการขายสินค้าเลียนแบบสิ่งนั้น โดยการปลอมเครื่องหมายการค้าของสินค้าต้นฉบับ ก็จะเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้าด้วย แต่สินค้านั้นไม่มีความปลอดภัยหรือไม่ได้มาตรฐาน แต่ทำการจำหน่ายในราคาเท่ากัน เช่น พัดลมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งปลอมเป็น ฮิตาชิ จำหน่ายในราคาเท่ากัน หรือแค่เพียงราคาถูกกว่าเล็กน้อย แต่คุณภาพต่างกันมาก โดยหลอกลวงว่าเป็นสินค้าของต้นฉบับคือฮิตาชิอีก อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรแล้วเกิดไฟไหม้ หรือชำรุดแล้วส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่กายหรือถึงแก่ชีวิตได้ การถือว่าเป็นขายสินค้าที่หลอกลวงในคุณภาพด้วย ถือว่าเป็นการฉ้อโกงอย่างหนึ่งตามกฎหมายอีกความผิดหนึ่ง หรือยาสระผมที่ใช้ยี่ห้ออื่น แต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ใช้ ซึ่งการที่กระทำดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ทั้งสองกรณี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าพัดลม หรือยาสระผม หรือสินค้าอื่นๆ ทั่วไป รวมถึงสินค้าที่เป็นประเภทอาหารและเครื่องดื่มด้วย หากได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าแต่คุณภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจนทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ หรือผู้บริโภคได้ โดยราคาก็ได้คิดเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ส่วนความเสียหายอื่นที่เป็นในภาพส่วนรวมก็จะเป็นเรื่องของการเสียสัมพันธ์ในการดำเนินการธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น หากประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในสินค้าต่างๆของต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ประเทศอื่นๆ ไม่กล้าที่จะทำการลงทุนหรือทำการติดต่อทำการซื้อขายสินค้าในประเทศไทย หรืออาจจะทำให้มีการตัดความสัมพันธ์หรือการติดต่อให้ความช่วยเหลือประเทศไทยทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจประเทศเสียหาย ซึ่งเป็นภาพส่วนรวมของประเทศ โดยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ เป็นการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ได้ใน ปี พ.ศ.2537 ทั้งที่การละเมิดลิขสิทธิ์มีมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ส่วนเรื่องทางแพ่งนั้นก็ได้มีการกำหนดใช้ได้ก่อนที่จะออกกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นเรื่องของการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งสามารถฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายได้อยู่แล้ว แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ก็ได้ทำการบัญญัติโทษทางอาญาขึ้นมาเพื่อให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดการความเข็ดหลาบและเกรงกลัวโทษทางกฎหมาย
กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันนี้ก็จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยได้มีการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ไว้ทั้งหมด ซึ่งบทกำหนดโทษมีอัตราโทษปรับสูง ตัวอย่างเช่น มาตรา 70 วรรคสอง ในพระราชบัญญัตินี้ เป็นความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการค้า ขาย จำหน่าย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอเช่า หรือเสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ แจกจ่าย
นำหรือสั่งนำเข้าในงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าจะเทียบให้เห็นภาพก็คือ การขายแผ่นวีซีดี ซีดีภาพยนตร์หรือเพลง ที่ทำซ้ำหรือคัดลอก ไร้ท์(write)มา มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปีหรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในระหว่างโทษนี้ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะได้ทำการพิจารณาว่าจะลงโทษเท่าใด ซึ่งในการออกกฎหมายมาบังคับในตอนแรกนั้น ก็จะมีการพิพากษาลงโทษในอัตราสูง
2.พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับในการจัดฉายภาพและเสียงรวมถึงการผลิต จำหน่าย หรือใช้ประโยชน์ในวัสดุโทรทัศน์ โดยจะนำมาใช้บังคับควบคู่กัน หากมีความผิดใดที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การกระทำการขายแผ่นซีดี วีซีดี ภาพยนตร์ เพลงต่างๆ รวมถึงการจัดฉายด้วย ซึ่งหากไม่มีการได้รับอนุญาตหรือตรวจสอบจากนายทะเบียนตามกฎหมายนี้ ก็จะมีความผิดตามกฎหมายในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
แนวความคิดที่มีการให้มีการบังใช้กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
ปัจจุบันในกฎหมายของประเทศไทย กฎหมายที่มีโทษทางอาญา ใช้บังคับเพื่อให้มีการลงโทษผู้ที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นซึ่งหากไม่เกี่ยวข้องกับความผิดละเมิดสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าก็จะมีเพียงกฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งตราบัญญัติออกมาเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพัฒนาการที่มีต้นแบบมาจากประเทศภาคพื้นตะวันตก โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ วัตถุประสงค์หลักดั้งเดิมมุ่งที่การคุ้มครองผลงานที่เกิดจากการใช้ความคิด ความพยายามของมนุษย์ ผลงานดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ งานศิลปกรรม เป็นต้น แต่ในปัจจุบันบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยในเวทีการค้าโลก (World Trade Organisation)
การที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement of Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights,Including Trade in Counterfeiting Goods หรือที่เรียกวา TRIPs Agreement) ซึ่งเป็นผลมาจากการเจรจาความตกลงทั่วไปทางภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreemention Tariffs and Trade หรือ GATT) และเป็นอนุสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งอยู่ภายใต้ WTO Agreement ซึ่ง TRIPs Agreement มีบทบาทอย่างยิ่งในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิก WTO (นัยนา เกิดวิชัย:2545)
การคุ้มครองและพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา
การดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถแบ่งได้เป็นส่วน 3 ส่วน คือ
1.การออกแบบและการใช้กฎหมาย(Introduction and Implement
การออกแบบและการใช้กฎหมายเป็นขั้นตอนแรกในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยหน่วยงานของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ในประเทศไทย หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์(ยกเว้นกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชซึ่งรับผิดชอบโดยกรมวิชาการเกษตร)ปัจจุบันการออกและปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในหลายประเทศเป็นผลกระทบมาจากการเข้าเป็นสมาชิกของอนุสัญญาการค้าโลก (WTO Agreement) ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIP’s Agreement) ที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ในประเทศไทยจึงได้มีการออกกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาบังคับใช้
2.การแสวงหาสิทธิ(Seeking legal protection)
เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล(private property)ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่เจ้าของผลงานเองในการแสวงหาสิทธิ รัฐจะไม่มอบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้ถ้าไม่มีคำร้องขอสิทธิจากเจ้าของผลงาน ซึ่งระบบทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นระบบสมัครใจ(voluntary system) อาจมีข้อยกเว้นในเรื่องลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดโดยอัตโนมัติหลังจากผลงานได้เกิดขึ้น
3.การบังคับใช้สิทธิ(Enforcement)
ในเรื่องการบังคับใช้สิทธินับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ซึ่ง TRIPs Agreement ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมากถึงกับกำหนดว่าประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการบังคับสิทธิอย่างมีประสิทธิภาพ ในเรื่องการบังคับใช้สิทธินั้นมีบุคคลที่เกี่ยวข้องคือ (1) เจ้าของสิทธิ (2) หน่วยงานด้านตุลาการ อันเป็นระบบศาลสถิตยุติธรรมซึ่งในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาคดีความด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะ คือ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เจ้าของสิทธิมีหน้าที่สำคัญในการพิทักษ์สิทธิ โดยต้องสอดส่องว่าได้มีผู้อื่นละเมิดสิทธิในด้านทรัพย์สินทางปัญญาของตนหรือไม่ ซึ่งถ้าพบว่ามีการละเมิดก็สามารถนำเรื่องขึ้นให้ศาลพิจารณาความยุติธรรม ในคดีทรัพย์สินทางปัญญามีความพิเศษกว่าคดีอื่นๆ ที่ว่าศาลสามารถออกคำสั่งต่างๆ ก่อนที่จะได้มีการพิจารณาคดีกันจริง เช่น การออกคำสั่ง Interlocutory injunction เป็นต้น
การป้องกันและการแก้ไขในการละเมิดลิขสิทธิ์
1.มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รัดกุม มีบทบังคับให้ชัดเจนเป็นช่องว่างในด้านต่างๆ ไม่ให้มีการใช้ประโยชน์จากกฎหมายเช่น การบัญญัติให้ ความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์มีอัตราโทษปรับสูง แต่สามารถยอมความได้ โดยข้อดีก็คือ หากผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ชดใช้หรือบรรเทาเรื่องความเสียหายต่อผู้เสียหายคือเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ติดใจในการดำเนินคดีก็สามารถจะถอนคำร้องทุกข์หรือถอนฟ้องได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เนื่องจากไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรง แต่ขอเสียก็คือ ในปัจจุบันซึ่งผู้ที่ทำการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง โดยเฉพาะเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เป็นบริษัท จะมีการมอบอำนาจหรือตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งบางครั้งก็มีกรณีที่มีการซื้อใบมอบอำนาจและไปทำการแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวนพอมีการจับกุมผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์แล้วก็มีการเรียกค่าเสียหาย โดยมีการขู่กับผู้ต้องหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ว่าหากไม่จ่ายค่าเสียหายก็จะถูกดำเนินคดีติดคุกขึ้นศาล ซึ่งจะขู่ต่างๆ นานา ทำให้ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เกิดความกลัว จนต้องจ่ายค่าเสียหาย เมื่อได้ค่าเสียหายแล้วผู้รับมอบอำนาจก็ถอนคำร้องทุกข์ แล้วก็ปล่อยให้มีการขายอีก หากเป็นลิขสิทธิ์เกี่ยวกับตู้เพลงคาราโอเกะ ผู้รับมอบอำนาจก็จะทำการขายสติ๊กเกอร์ให้ติดแล้วก็ปล่อยไป ซึ่งไม่ได้ประสงค์จะคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง เป็นเพียงการใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ตนเอง โดยบางครั้งก็มีการกระทำคล้ายกรรโชกกัน ซึ่งไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งบางครั้งก็ได้ทำผิดเพียงเล็กน้อย ไม่ร้ายแรงหรือไม่ใช่รายใหญ่ ไม่ได้คุ้มครองสิทธิตนเองอย่างจริงจัง
2.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
3.เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในมาตรฐานอยู่เสมอ
4.ให้การศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ทราบถึงผลเสียในการละเมิด รวมถึงข้อกฎหมาย
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552
การทดลองเล่นบล็อก
เป็นการทดลองเล่นบล็อกครั้งแรก ต่อไปจะนำความรู้สาระ และบันเทิงมาเผยแพร่อีกครั้ง หากใครมีอะไรแนะนำ ติดต่อมาได้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)