วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

เรื่องเกี่ยวกับไม้แบดมินตันและรองเท้าแบดมินตัน

เรื่องเกี่ยวกับไม้แบดมินตันและรองเท้าแบดมินตัน
By Big Oat
ไม้แบดมินตัน
รูปแบบภายนอกแบบเด่นชัด
แบ่งเป็นสองแบบ
1.ไม้แบดฯ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเฟรมด้วยตัวสามเหลี่ยมเชื่อม
ไม้อันนี้ส่วนมากจะเป็นอลูมิเนียม และจะมีน้ำหนักมาก ราคาถูก
2.ไม้แบดฯ ที่เป็นการเชื่อมต่อเป็นอันเดียวกัน ทำให้ตีง่าย น้ำหนักเบา
ส่วนประกอบของตัวไม้เบื้องต้น หลักจะแบ่งได้เป็นสามส่วน
1.)เฟรม (Frame) เป็นส่วนที่ใช้ขึงเอ็น ซึ่งเฟรมแต่ละยี่ห้อจะมีลักษณะต่างกันไป หรือบางคนอาจใช้ศัพท์เรียกว่าหัวไม้ ถ้าเฟรมใช้วัสดุแข็งแรงก็จะทนและสามารถขึงเอ็นได้ตึงและไม่บาดไม้ โดยเฟรมก็จะมีตาไก่ให้ร้อยเอ็นด้วยช่วยในการยึดจับและร้อยเอ็น โดยมีบางรุ่นที่เฟรมไม่มีตาไก่คือ Prince รุ่น O3 ซึ่งอาจจะทำให้ขึ้นเอ็นได้น้อยกว่าแต่อาจจะทำให้ไวกว่าในการตี
เฟรมจะมีแบบใหม่คือแบบหน้ากว้างบริเวณปลายเฟรมจะขยายมากขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมขึ้น Sweet spot จะทำให้เพิ่มพื้นที่ในการสัมผัสลูกมากขึ้น แต่มีแบบเก่าคือแบบหัวไข่ รูปรี มีข้อดีคือทำให้ลดแรงเสียดทาน แต่ปัจจุบันแบบเหลี่ยมก็ทำให้ตีลดแรงเสียดทานได้เช่นกัน คนจึงนิยมแบบเหลี่ยมหรือหน้ากว้าง
ถ้าน้ำหนักของไม้ถ่ายทอดที่หัวเฟรมก็จะทำให้จังหวะตบกดหัวไม้ได้ดีขึ้น แต่ข้อเสียบางครั้งบางรุ่นอาจจะทำให้หน้าไม้ไม่ไว อาจจะทำให้รับได้ไม่ทันใจ
ส่วนถ้าหน้าไม้หรือหัวไม้เบาจะทำให้เล่นดาดหรือพลิกไม้หรือรับลูกได้เร็วไว้ขึ้น แต่เมื่อตบต้องออกแรงและสะบัดข้อมือมากขึ้น
2.)ก้าน(Shaft) คือส่วนที่เชื่อมระหว่างเฟรมกับด้ามจับ ซึ่งมีความยาวและความแข็งต่างกันไป ปัจจุบันจะนิยมก้านยาวประมาณ 675 ซม.รวมเฟรมถึงด้าม ซึ่งจะถือว่าเป็นก้านยาวแล้ว โดยจะมีไม้บางรุ่นซึ่งเป็นก้านสั้นมากกว่านี้ถ้าก้านยาว สามารถทำให้ช่วงการรับการตวัด มีการขยายช่วงตีมากขึ้น แต่ถ้าก้านสั้นอาจจะมีข้อดีคือวงสวิงสั้นและเร็วขึ้น คนที่มีรูปร่างสูงนั้นบางคนจะชอบก้านสั้น เนื่องจากตนเองมีช่วงแขนที่ยาวอยู่แล้วต้องการความรวมเร็ว
บางยี่ห้อและบางรุ่นอาจจะมีระบบก้านยาวหรือก้านเรียว หรือก้านลดแรงสั่นสะเทือนด้วย
ส่วนความยืดหยุ่นของก้าน ถ้าก้านอ่อนจะทำให้แรงดีดนั้นเพิ่มขึ้น ส่วนก้านแข็งจะดีตรงที่มีแรงตบจังหวะในการตบได้มั่นคงรวดเร็ว
3.ด้ามจับ(Grip) ตัวด้ามจับจะมีที่พันด้าม ที่พันอาจเป็นผ้าหรือเป็นหนังหรือพลาสติก แล้วแต่ความนิยมของแต่ละคน โดยถ้าเป็นผ้าถ้าตีเริ่มแรกจะกระชับมือ แต่พอเปียกแล้วจะทำให้ยิ่งลื่น
ขนาดของด้ามจับใช้สัญลักษณ์ G จะใช้เป็น G1 G2 ถึง G5 คือถ้ายิ่งเลขมากด้ามจับยิ่งเล็ก ก็คือ G1 จะใหญ่สุด
วัสดุของไม้แบดมินตัน
วัสดุของไม้แบดมินตันจะมีหลายประเภท แต่ส่วนมากในราคากลางถึงราคาสูงนั้นจะเป็น พวกคาร์บอน โดยคำว่าคาร์บอน รวมถึงพวก คาร์บอนไฟเบอร์ คาร์บอนแกร์ไฟต์ คาร์บอนนาโน โดยจะยกตัวอย่างคุณสมบัติดังนี้
- นาโนคาร์บอน (Nano) จะเป็นคาร์บอนที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเกี่ยวกับโมเลกุล ทำให้วัสดุมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นในขนาดน้ำหนักเท่าเดิม ไม้ที่มีส่วนผสมนี้จะใช้สัญลักษณ์แบบนี้
- ไทเทเนียม (Ti) ไทเทเนียมจะเป็นคาร์บอนที่ความแข็งแรงและแรงดีดที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผสมหมดทั้งไม้ แต่ถ้าผสมเยอะจะทำให้ไม้แข็งเกินไปและอาจกรอบหักได้ แต่บางคนก็ยังบอกว่ายิ่งเยอะยิ่งดี ซึ่งบางครั้งก็จะมีการเพิ่มขึ้นเป็น Ultimum บ้าง Timesh บ้างซึ่งเค้าจะบอกว่าแข็งแกร่งกว่าเด้งว่าไทเทเนียมธรรมดา ถ้าเป็น Kason รุ่น TSF 100 จะมีส่วนผสมนี้อยู่ด้วย
- แกร์ไฟต์ ก็จะมีคุณสมบัติที่สูงกว่าคาร์บอนทั่วไปตรงความแข็งแรงและความสปริงของไม้ โดยบางครั้งก็จะมีเขียนว่า Hi modulus หรือ H.M. ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคาร์บอนแกร์ไฟต์คุณภาพสูง
- ไฟเบอร์ Fiber ก็จะเป็นคาร์บอนที่มีน้ำหนักเบาแรงดีดพอสมควร จะมีบางรุ่น
ที่ใช้ HTS Fiber
- อลูมิเนียม จะมีน้ำหนักที่หนักและแข็งกว่าวัสดุข้างต้น ซึ่งเหมือนจะแข็งกว่าแต่ถ้าทำเป็นเฟรมความยืดหยุ่นหรือโครงสร้างกับขึ้นเอ็นได้น้อยกว่าวัสดุข้างบน
น้ำหนักของไม้
ส่วนมากจะมีเขียนไว้ที่ไม้ว่าเป็นกี่กรัม หรืออาจแบ่งเป็นจำนวน U คือ 1U 2U ถึง 4U ยิ่งเลขมากยิ่งน้ำหนักเบา เช่น 4U จะมีช่วงอยู่ระหว่าง 85 กรัมลงมา, 3U จะอยู่ระหว่าง 86-89 กรัม, 2U ก็ 90-95
ถ้าน้ำหนักมากข้อดีคือทำให้ไม้มีน้ำหนัก ลูกตบตบได้หนัก (ต้องดูน้ำหนักด้วยว่าลงที่หัวไม้หรือไม่) ส่วนข้อเสีย จะเป็นเรื่องของการพลิกไม้และการรับลูก
น้ำหนักเบา สบายมือ รับลูกได้เร็ว ถ้าน้ำหนักเบา แต่มีน้ำหนักลงที่หัวไม้ก็จะยิ่งช่วยในการตบได้ดีขึ้น
เอ็นและการขึง
เอ็นถ้ายิ่งเส้นเล็ก ขนาด 0.66 มิลฯ ก็จะทำให้ยิ่งเด้งแต่ข้อเสียขาดง่าย
ส่วนถ้าขนาด 0.70 จะขาดยากแต่อาจเด้งสู้ขนาดเล็กไม่ได้ แต่พวกที่จะชอบตบจะชอบขนาดนี้
การขึงเอ็น
ปกติจะมีการขึงถ้าเป็นธรรมดาก็อยู่ระหว่าง 18-23 ปอนด์ ถ้าหนักหน่อยก็ 24 ปอนด์ ขึ้นไปแล้วแต่คุณสมบัติไม้
ถ้าขึ้นธรรมดาข้อดีคือ ทำให้มีแรงสปริงที่ดีดสามารถทำให้ลูกส่งไปถึงเส้นหลังด้านไกลสบายมือ
แต่พวกที่ชอบเล่นตบบางครั้งจะไม่ชอบเพราะมีจังหวะหน่วงระหว่างที่ลูกกระทบเอ็นอาจจะทำให้ไม่ทันใจจึงได้นิยมขึ้นเอ็นกันสูงๆ
สำหรับคนที่ไม่มีแรงหรือแรงน้อยการขึ้นเอ็นสูงๆจะทำให้ตีไม่ไป มือใหม่จึงควรขึ้นเอ็นระหว่าง 18-21 ปอนด์ไว้ก่อนแล้วค่อยเพิ่ม และการขึ้นเอ็นสูงอาจทำให้เฟรมร้าวหรือยุบหรือหักเปราะได้ ถ้าไม้นั้นคุณภาพหรือสเป็คไม่ถึง

สำหรับยี่ห้อนั้น ก็แล้วแต่ความพอใจความชอบ ต้องทดลองจับหรือดูบาลานซ์ สเป็คก็ว่ากันไป
รองเท้าแบดมินตัน


จุดที่ 1 ขอบรองเท้าเป็นวัสดุที่ทนการเสียดสีกับพื้นสนาม วัสดุหุ้มบริเวณนิ้วโป้งควรทำจากหนังแท้ เนื่องจากทนทานกว่า จากประสบการณ์ของตัวเองและสังเกตจากนักกีฬาส่วนใหญ่ จะมีปัญหารองเท้าชำรุดในส่วนนี้ โดยเฉพาะเท้าข้างเดียวกับมือที่ไม่ได้จับแร็กเก็ต เช่นคนที่ถนัดขวาจะใช้เท้าขวานำเวลารับลูกหน้าเน็ต บริเวณข้างนิ้วโป้งเท้าซ้ายก็จะลากกับพื้นเสมอ

จุดที่ 2 พื้นส้นรองเท้า และวัสดุรองส้นเท้าต้องมีความแข็งแรง และยืดหยุ่นรับการกระแทกจากน้ำหนังตัวได้ดี ช่วยป้องการการบาดเจ็บข้อเข่า

จุดที่ 3 ส้นรองเท้าที่ค่อนขึ้นมาทางเอ็นร้อยหวาย ควรโค้งมนรับน้ำหนักตัว เพราะการก้าวไปรับลูกที่ด้านหน้า หรือด้านข้างจะต้องใช้ส้นเท้าลงน้ำหนักก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บข้อเท้า

ส่วนที่ 4 คือพื้นรองเท้า ควรเลือกรองเท้าที่ทำจากยางดิบ เนื่องจากมีการจับเกาะพื้นสนามได้ดีทุกพื้นสนามไม่ว่าจะเป็น พื้นไม้ปาร์เก้ หรือพื้นยาง ปัจจุบันรองเท้ากีฬามักทำแบบแยกส่วนหน้าและส่วนหลัง เว้นตรงส่วนฝ่าเท้าไว้และใช้วัสดุพิเศษ เพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้กับฝ่าเท้าที่รองรับแรงกระแทก

ส่วนที่ 5 พื้นรองด้านใน ถ้านูนเว้าและนิ่มรับฝ่าเท้าก็จะดีมาก ช่วยให้เอ็นฝ่าเท้าไม่ต้องทำงานหนักมาก
โดยเทคโนโลยีของรองเท้าก็จะมีพวกรองส้น แบบ Power cushion จะรองรับน้ำหนักได้ดี เป็นการลดแรงกระแทก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น